ปุณณธีต์ ธรรมานุสาร
รัตนพล สมแวง
วิกรานต์ นิพิธฐนศาสตร์
ธันวา ทับสีรักษ์
ศุภศักดิ์ นกออก
อุตสาหกรรมปุ๋ย
วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
อุตสาหกรรมปุ๋ย
อุตสาหกรรมปุ๋ย
ปุ๋ย คือ สารหรือสิ่งซึ่งเราใส่ลงไปในดิน
เพื่อวัตถุประสงค์ให้ปลดปล่อยธาตุอาหารพืชโดยเฉพาะไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม
ที่พืชยังขาดอยู่ให้พืชได้รับอย่างเพียงพอ
พืชสามารถเจริญเติบโตงอกงามดีและให้ผลิตผลสูงขึ้น
ประเภทของปุ๋ย
1. ปุ๋ยอินทรีย์ คือสารประกอบที่ได้จากสิ่งที่มีชีวิต
ได้แก่ พืช สัตว์ และจุลินทรีย์ ผ่านกระบวนการผลิตทางธรรมชาติ
ปุ๋ยอินทรีย์ส่วนใหญ่ใช้ในการปรับปรุงสมบัติทางกายภาพของดิน ทำให้ดินโปร่ง ร่วนซุย
ระบายน้ำและถ่ายเทอากาศได้ดี รากพืชจึงชอนไชไปหาธาตุอาหารได้ง่ายขึ้น
ปุ๋ยอินทรีย์
มีปริมาณธาตุอาหารอยู่น้อยเมื่อเปรียบเทียบกับปุ๋ยเคมี
และธาตุอาหารพืชส่วนใหญ่อยู่ในรูปของสารประกอบอินทรีย์ ปุ๋ยอินทรีย์มี 3 ประเภทคือ
1) ปุ๋ยหมัก 2) ปุ๋ยคอก และ 3) ปุ๋ยพืชสด
2. ปุ๋ยเคมี
หรือปุ๋ยวิทยาศาสตร์
เป็นปุ๋ยที่ได้จากการผลิตหรือสังเคราะห์จากแร่ธาตุต่างๆ
หรือเป็นผลพลอยได้จากโรงงานอุตสาหกรรมบางชนิด
ซึ่งจะมีธาตุอาหารหลักที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช ได้แก่
ธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม
สามารถปลดปล่อยให้แก่พืชได้ง่ายและเร็ว
มี 2 ประเภทคือ
2.1 ปุ๋ยเดี่ยวหรือแม่ปุ๋ย
เป็นสารประกอบที่มีธาตุอาหารของพืชอยู่หนึ่งหรือสองธาตุ และมีปริมาณธาตุอาหารคงที่ เช่น
ปุ๋ยยูเรีย
และปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต
2.2 ปุ๋ยผสม
เป็นปุ๋ยที่ได้จากการนำปุ๋ยเดี่ยวแต่ละชนิดมาผสมกันเพื่อให้ได้สัดส่วนของธาตุอาหาร N P และ K ตามต้องการ เช่น ปุ๋ยสูตร
10 :
15 : 20 ประกอบด้วย N 10 ส่วน P 15 ส่วน K 20 ส่วน และมีตัวเติมอีก 55 ส่วน ให้ครบ
100 ส่วน
นอกจากนี้
ปุ๋ยวิทยาศาสตร์บางชนิดอาจมีธาตุอาหารของพืชที่มีความสำคัญในลำดับรอง ซึ่งพืชต้องการในปริมาณน้อย ได้แก่
ธาตุแคลเซียม กำมะถัน แมกนีเซียม
เหล็ก สังกะสี แมงกานีส
และทองแดง ผสมอยู่ด้วย
ปุ๋ยเคมีสามารถแยกประเภทได้ดังนี้
อ้างอิง
อ้างอิง
http://www.scimath.org/socialnetwork/groups/viewbulletin/1198-?groupid=250
http://wit61.blogspot.com/2011/09/blog-post_02.html
http://www.krunid.com/board/index.php?topic=4590.0;wap2
http://www.scimath.org/socialnetwork/groups/viewbulletin/1197-?groupid=250
http://www.scimath.org/socialnetwork/groups/viewbulletin/1211-%E0%B8%9B%E0%B8%B8%E0%B9%8B%E0%B8%A2%E0%B8%9C%E0%B8%AA%E0%B8%A1?groupid=250
หน้าแรก
หน้าแรก
ปุ๋ยผสม
ปุ๋ยผสม
ปุ๋ยผสมได้จากการนำปุ๋ยไนโตรเจน
ฟอสเฟตและโพแทสมาผสมรวมกันเพื่อให้ได้สัดส่วนของธาตุอาหารพืชตาม ที่ต้องการ มี 2 ลักษณะ
ดังนี้
การผลิตในลักษณะเชิงผสม
เป็นวิธีที่ใช้อยู่ในโรงงานส่วนใหญ่ในประเทศ
โดยการนำแม่ปุ๋ยและส่วนผสมต่างๆ มาบดให้เข้ากันเป็นเม็ด
หรืออีกแบบคือการนำแม่ปุ๋ยและส่วนผสมต่างๆ
มาคลุกเคล้าให้เข้ากันหรือนำแม่ปุ๋ยที่มีขนาดเล็กใกล้เคียง กันมาผสมกัน
เพื่อให้ได้สูตรตามต้องการ และอาจมีการบดให้ละเอียดจนเข้ากันดี
ทำให้ปุ๋ยแต่ละเม็ดอาจมี ธาตุอาหารแตกต่างกัน
การผลิตในลักษณะเชิงประกอบ
เป็นการนำวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตแม่ปู่ยมาผสมกันและให้ทำปฏิกิริยากัน
เกิดเป็นสารประกอบต่างๆ เพื่อให้ได้ปุ๋ยตามสูตรที่ต้องการ
หน้าแรก
หน้าแรก
ปุ๋ยโพแทส
ปุ๋ยโพแทส
เป็นสารประกอบของโพแทสเซียม ปุ๋ยโพแทสมีหลายชนิด
เช่น KCl K2SO4 KNO3 และ K2SO4.2MgSO4 การผลิตปุ๋ย แต่ละชนิดเหล่านี้จะมีกระบวนการที่แตกต่างกันโพแทสเซียมเป็นธาตุอาหารหลักที่จำเป็นต่อพืชมาก
ทำให้ผนังเซลล์ของพืชหนาขึ้น สร้างภูมิต้านทานโรค และเป็นตัวเร่งให้เซลล์ทำงานได้ดีขึ้น
ถ้าพืชขาดโพแทสเซียมจะทำให้มีปริมาณแป้งต่ำกว่าปกติ ผลผลิตลดน้อยลง ขอบใบมีสีซีด
ลำต้นอ่อน แคระแกร็นและเมล็ดลีบ
1.การผลิตปุ๋ย KCl โดยใช้แร่ซิลวาไนต์ (KCl.NaCl) มาบดให้ละเอียดแล้วละลายในน้ำที่มีอุณหภูมิประมาณ 90๐ C เติมสารละลาย NaCl ที่อิ่มตัวลงไป ระเหยน้ำออก จนกระทั่ง KCl ตกผลึกออกมาหรืออาจจะผลิตจากน้ำทะเล โดยนำน้ำทะเลมาระเหยจน NaCl ตกผลึก แยก NaCl ออก จากนั้นระเหยน้ำต่อจน KCl ตกผลึก
2.การผลิต K2SO4 ผลิตได้จาการนำแร่ลงไปไนต์ (K2SO4.2MgSO4) มาบดให้ละเอียดแล้วละลายในน้ำที่มีอุณหภูมิประมาณ 50๐ C จนเป็นสารละลายอิ่มตัว แล้วเติมสารละลาย KCl ที่เข้มข้นลงไป จะได้ผลึก K2SO4 ออกมาดังสมการ
K2SO4.2MgSO4 + 4KCl → 3K2SO4 + 2MgCl2
3.การผลิต KNO3 ผลิตได้โดยใช้ KCl ทำปฏิกิริยากับ NaNO3 ดังสมการ
ปุ๋ยฟอสเฟต
ปุ๋ยฟอสเฟต
ปุ๋ยฟอสเฟต เป็นปุ๋ยเคมีที่ให้ธาตุฟอสฟอรัสในรูปสารประกอบฟอสเฟต pH ของดินมีผลต่ออนุมูลของฟอสเฟตการผลิตปุ๋ยฟอสเฟต
ปัจจุบันนี้ใช้วัตถุดิบคือ หินฟอสเฟต (phosphate rock)
การเตรียมปุ๋ยซุปเปอร์ฟอสเฟต
นำหินฟอสเฟตที่บดแล้วมาทำปฏิกิริยากับกรด H2SO4 เข้มข้น 4-5
โมลต่อลูกบาศก์เดซิเมตร(ที่มากเกินพอ)
ปฏิกิริยาจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วได้กรด H3PO4 กรดกัดแก้ว (HF กรดไฮโดรฟูออริก) และแคลเซียมซัลเฟต
ดังสมการ
CaF2.3Ca3(PO4)2 + 10H2SO4" 6H3PO4 + 10CaSO4 + 2HF
กรด H3PO4 ที่เกิดขึ้นจะทำปฏิกิริยากับหินฟอสเฟตที่เหลือ
ปฏิกิริยาเกิดขึ้นอย่างช้าๆ ต้องเก็บหรือบ่มไว้ประมาณ 1 เดือน
จนปฏิกิริยาเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ได้มอนอแคลเซียมฟอสเฟต หรือในท้องตลาดเรียกว่า triple
soperphosphate
CaF2.3Ca3(PO4)2 + 14H3PO4 " 10Ca(H2PO4)2 + 2HF
ปุ๋ยมอนอแคลเซียมฟอสเฟตละลายน้ำได้ดี พืชจึงนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่
นอกจากนี้อาจนำหินฟอสเฟตมาทำปฏิกิริยากับ จะได้ปุ๋ยซุปเปอร์ฟอสเฟต ดังสมการ
CaF2.3Ca3(PO4)2 + 7H2SO4 + 17H2O " 3Ca(H2PO4)2.
H2O + 7CaSO4.2 H2O + 2HF
การเตรียมปุ๋ยฟอสเฟตในอุตสาหกรรมจะมีแก๊ส HF เกิดขึ้นซึ่งระเหยกลายเป็นไอได้ง่ายและเป็นพิษ จึงต้องมีการกำจัด HF ดังปฏิกิริยา
SiO2 + 4HF
" SiF4 + 2 H2O
SiF4 ที่เกิดขึ้นจะรวมตัวกับน้ำส่วนที่ได้ H2SiF6 อาจนำแก๊ส HF ทำปฏิกิริยากับ SiO2 โดยตรงจะได้เหมือนกัน
ดังสมการ
6HF + SiO2 " H2SiF6 + 2 H2O
H2SiF6 ใช้เป็นสารละลายในการเติมฟลูออไรด์ให้กับน้ำดื่ม
หรือนำมาทำปฏิกิริยากับ MgO ได้แมกนีเซียมซิลิโกฟลูออไรด์ ซึ่งใช้เป็นสารกำจัดแมลง ดังสมการ
H2SiF6 +
MgO " MgSiF6 + H2O
อาจกำจัดแก๊ส HF โดยการผ่านลงในน้ำได้สารละลายกรด HF แล้วนำมาสะเทินด้วยโซดาแอช(Na2CO3) หรือหินปูน ดังสมการ
2HF + Na2CO3 " 2NaF + H2O + CO2
2HF + CaCO3 " CaF2 + H2O + CO2
การผลิตปุ๋ยฟอสเฟตนั้นอาจนำหินฟอสเฟตผสมกับทรายและโซดาแอช
แล้วเผาที่อุณหภูมิ 1000-1200 อาศาเซลเซียส ประมาณ
2 ชั่วโมง จะเกิดปฏิกิริยา ดังสมการ
2CaF2.3Ca3(PO4)2 + 5SiO2 + 6Na2CO3 " 12CaNaPO4 + 4Ca2SiO4 + SiF4 + 6CO2
นำสารผสมที่ได้จากการเผาเทลงในน้ำแล้วทำให้เย็นลงทันทีจะได้สารที่มีลักษณะพรุน
เปราะ และบดให้ละเอียดได้ง่าย สามารถใช้เป็นปุ๋ยฟอสเฟตที่ให้ P2O5 ได้ถึงร้อยละ 27.5
โดยมวล จึงเป็นวิธีหนึ่งที่นำหินฟอสเฟตมาใช้อย่างคุ้มค่า
หน้าแรก
หน้าแรก
ปุ๋ยไนโตรเจน
ปุ๋ยไนโตรเจน
ปุ๋ยไนโตรเจนที่ใช้อาจจัดเป็น
2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ปุ๋ยไนโตรเจนประเภทอินทรีย์
และปุ๋ยไนโตรเจนประเภทอนินทรีย์หรือปุ๋ยเคมี
ปุ๋ยไนโตรเจนประเภทอนินทรีย์หรือปุ๋ยเคมี
ส่วนใหญ่ได้จากการสังเคราะห์ทางเคมี
ปัจจุบันนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร แบ่งเป็นหลายประเภท เช่นปุ๋ยแอมโมเนีย
(NH3)ปุ๋ยโซเดียมไนเตรต (NaNO3)ปุ๋ยแคลเซียมไซยาไนด์ (CaCN2)ปุ๋ยแอมโมเนียมไนเตรตซัลเฟต (NH4 NO3 .(NH4)2SO4)เป็นต้น
กรรมวิธีการผลิตปุ๋ยไนโตรเจน
โรงงานอุตสาหกรรมผลิตปุ๋ยสามารถใช้ไนโตรเจนจากอากาศมาผลิตเป็นปุ๋ยไนโตรเจน ในที่นี้จะเน้นการผลิตปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต ((NH4)2SO4) และปุ๋ยยูเรีย (NH2CONH2)
เตรียมได้จากปฏิกิริยาระหว่างแก๊ส NH3 กับแก๊สCO2 โดยใช้อุณหภูมิประมาณ 180-210 องศาเซลเซียส และความดัน 140-250 บรรยากาศ จะได้แอมโมเนียมคาร์บาเมต (NH2CONH4) กับน้ำ ดังสมการ
2NH3 (g) + CO2 (g) → NH2CONH4 (aq)
NH2CONH4 (aq) → NH2CONH2 (aq) + H2O (l)
NH3 กับCO2 เตรียมได้จากก๊าซธรรมชาติ
NH3 เตรียมจาก N2 และ H2 ในอากาศ โดยนำอากาศมากลั่นลำดับส่วน คือ ลดอุณหภูมิลงมากๆ พร้อมกับเพิ่มความดันจนอากาศกลายเป็นของเหลว
เริ่มต้นเตรียม N2 จากอากาศโดยกระบวนการ liquefaction คือ ทำให้อากาศกลายเป็นของเหลวทั้งหมดก่อนโดยการลดอุณหภูมิลงมากๆ และเพิ่มความดันสูงๆ จากนั้นนำอากาศเหลวซึ่งมี N2 และ O2 เป็นส่วนใหญ่มากลั่นลำดับส่วนแยกออกจากกัน N2 ซึ่งมีจุดเดือดต่ำกว่า O2 จะแยกออกมาก่อนแล้ว O2 จึงกลั่นออกมา ภายหลัง
การเตรียม H2 ในกรณีที่มีก๊าซปิโตรเลียมหรือก๊าซธรรมชาติ โดยนำ O2 ที่ได้จากการกลั่นลำดับส่วนอากาศมาทำปฏิกิริยาดังสมการ โดยใช้ภาวะที่เหมาะสมและใช้ Niเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา จะได้ H2 และCO2 ซึ่งเรียกรวมกันว่า water gas
2CH4 (g) + O2 (g) → 2CO (g) + 4H2 (g)
หรืออาจใช้ไอน้ำทำปฏิกิริยากับก๊าซ CH4 โดยตรง จะได้ก๊าซ CO และH2 เช่นเดียวกัน
CH4 (g) + H2O (g) → CO (g) + 3H2 (g)
เมื่อแยกก๊าซ H2 ออกจากก๊าซผสมแล้ว จึงนำก๊าซ COที่เหลือไปทำปฏิกิริยากับก๊าซ CH4 อีกภายใต้อุณหภูมิสูง และมีตัวเร่งปฏิกิริยาเหมาะสม จะได้ก๊าซ CO2 และH2
ก๊าซผสมทั้งหมด (CO+H2) สามารถแยกออกจากกันได้โดยผ่านเข้าไปในหอคอยที่มีน้ำพ่นลงมา ก๊าซ CO2 ละลายน้ำได้ เกิดเป็นกรด H2CO3ไหลออกทางส่วนล่างของหอคอยพร้อมกับน้ำ
CO2 (g) + H2O (l) → H2CO3 (aq)
สำหรับก๊าซ H2 ซึ่งไม่ละลายน้ำจะผ่านขึ้นไปออกทางส่วนบนของหอคอย เก็บไว้ทำปฏิกิริยากับ N2 เพื่อเตรียมก๊าซ NH3 ต่อไป
สำหรับกรด H2CO3 นำไปแยกสลายให้กลับมาเป็นก๊าซ CO2ได้ โดยนำ H2CO3 ไปลดความดันและเพิ่มอุณหภูมิ
ก๊าซ N2 ที่เตรียมจากอากาศ และ H2 ที่ได้จากก๊าซธรรมชาตินำมาทำปฏิกิริยากันจะได้ NH3 เนื่องจากเป็นปฏิกิริยาที่มีภาวะสมดุลจึงต้องเลือกภาวะที่เหมาะสมเพื่อให้ได้ก๊าซ มากที่สุด โดยทั่วๆไปใช้อุณหภูมิประมาณ 300 องศาเซลเซียส 350 บรรยากาศ และใช้ เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา
เมื่อนำก๊าซ NH3ไปทำปฏิกิริยากับก๊าซ CO2 จะได้ปุ๋ยยูเรีย
CH3 (g) + CO2 (g) → NH2CONH2 (s) + H2O (l)
นอกจากนี้ ถ้าใช้ถ่านหินลิกไนต์เป็นวัตถุดิบแทนก๊าซธรรมชาติ จะเตรียม CO2 และ H2 ได้โดยการเผารวมกับ O2 จะได้ CO29.4%,CO 59.9%, H2 28.6% และก๊าซอื่นๆ 2.1%
เมื่อแยกก๊าซอื่นๆที่ไม่ต้องการ เช่น H2S และNO ออกไปแล้วจึงทำให้ CO กลายเป็นCO2 โดยนำก๊าซผสมไปทำปฏิกิริยากับไอน้ำที่ความดันสูงๆ และมีตัวเร่งปฏิกิริยาที่เหมาะสม CO จะรวมตัวกับ H2O ได้เป็น
CO2 และ H2
หลังจากได้ก๊าซผสม CO2 และ H2 แล้ว กระบวนการต่อๆไป สำหรับเตรียมปุ๋ยยูเรีย จะเหมือนกับกรณีที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นวัตถุดิบ
2.การผลิตปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต (NH4)2SO4
เตรียมก๊าซ NH3 และกรด H2SO4 ก่อนแล้วจึงนำมาทำปฏิกิริยากันเป็นปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต
ก๊าซ NH3 เตรียมได้โดยวิธีการเดียวกับการผลิตปุ๋ยยูเรีย
กรด H2SO4 เตรียมได้โดยใช้ S เป็นสารตั้งต้นซึ่งส่วนใหญ่จะได้จากถ่านลิกไนต์ โดยนำ S มาหลอมเหลวแล้วเผารวมกับก๊าซ O2 จะได้ก๊าซ SO2
S (l) + O2 (g) → SO2 (g)
เมื่อนำก๊าซ SO2ทำปฏิกิริยาต่อกับ O2 จะได้ก๊าซ SO3แต่เนื่องจากเป็นปฏิกิริยาที่มีสมดุลจึงต้องเลือกภาวะของอุณหภูมิและความดันที่เหมาะสม คือ 330 องศาเซลเซียส และใช้ V2O5 หรือ Pt เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาจะเหมาะสมได้ก๊าซ มากที่สุด
เมื่อผ่านก๊าซ SO3 ลงในสารละลายกรด H2SO4 เข้มข้น(เกือบบริสุทธิ์) จะเกิดปฏิกิริยาได้เป็น H2S2O7 หรือ H2SO4 . SO3 เรียกว่า โอเลียม(oleum) หรือ fuming sulfuric acid
H2SO4 (aq) + SO3 (g) → H2S2O7 (aq)
เมื่อต้องการกรด H2SO4 กลับคืน ให้นำ H2S2O7 ไปทำปฏิกิริยากับน้ำ
เมื่อนำก๊าซ NH3 และกรด H2SO4 มาทำปฏิกิริยากันจะได้ปุ๋ย (NH4)2SO4 ตามต้องการ
2NH3 (g) + H2SO4 (aq) → (NH4)2SO4(s)
หมายเหตุ
การเตรียมกรด H2SO4 จะไม่เตรียมจากปฏิกิริยาระหว่าง SO3 (g) กับ H2O (l) โดยตรง ตามสมการ
H2O (l) + SO3 (g) → H2SO4(aq)
เนื่องจาก เกิดปฏิกิริยายาก และมีการคายความร้อนสูงมาก รวมทั้งยังมีก๊าซบางอย่างระเหยออกมาตลอดเวลา ซึ่งอาจทำให้เกิดอันตรายได้ง่าย
หน้าแรก
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)