ปุ๋ยไนโตรเจน
ปุ๋ยไนโตรเจนที่ใช้อาจจัดเป็น
2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ปุ๋ยไนโตรเจนประเภทอินทรีย์
และปุ๋ยไนโตรเจนประเภทอนินทรีย์หรือปุ๋ยเคมี
ปุ๋ยไนโตรเจนประเภทอนินทรีย์หรือปุ๋ยเคมี
ส่วนใหญ่ได้จากการสังเคราะห์ทางเคมี
ปัจจุบันนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร แบ่งเป็นหลายประเภท เช่นปุ๋ยแอมโมเนีย
(NH3)ปุ๋ยโซเดียมไนเตรต (NaNO3)ปุ๋ยแคลเซียมไซยาไนด์ (CaCN2)ปุ๋ยแอมโมเนียมไนเตรตซัลเฟต (NH4 NO3 .(NH4)2SO4)เป็นต้น
กรรมวิธีการผลิตปุ๋ยไนโตรเจน
โรงงานอุตสาหกรรมผลิตปุ๋ยสามารถใช้ไนโตรเจนจากอากาศมาผลิตเป็นปุ๋ยไนโตรเจน ในที่นี้จะเน้นการผลิตปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต ((NH4)2SO4) และปุ๋ยยูเรีย (NH2CONH2)
เตรียมได้จากปฏิกิริยาระหว่างแก๊ส NH3 กับแก๊สCO2 โดยใช้อุณหภูมิประมาณ 180-210 องศาเซลเซียส และความดัน 140-250 บรรยากาศ จะได้แอมโมเนียมคาร์บาเมต (NH2CONH4) กับน้ำ ดังสมการ
2NH3 (g) + CO2 (g) → NH2CONH4 (aq)
NH2CONH4 (aq) → NH2CONH2 (aq) + H2O (l)
NH3 กับCO2 เตรียมได้จากก๊าซธรรมชาติ
NH3 เตรียมจาก N2 และ H2 ในอากาศ โดยนำอากาศมากลั่นลำดับส่วน คือ ลดอุณหภูมิลงมากๆ พร้อมกับเพิ่มความดันจนอากาศกลายเป็นของเหลว
เริ่มต้นเตรียม N2 จากอากาศโดยกระบวนการ liquefaction คือ ทำให้อากาศกลายเป็นของเหลวทั้งหมดก่อนโดยการลดอุณหภูมิลงมากๆ และเพิ่มความดันสูงๆ จากนั้นนำอากาศเหลวซึ่งมี N2 และ O2 เป็นส่วนใหญ่มากลั่นลำดับส่วนแยกออกจากกัน N2 ซึ่งมีจุดเดือดต่ำกว่า O2 จะแยกออกมาก่อนแล้ว O2 จึงกลั่นออกมา ภายหลัง
การเตรียม H2 ในกรณีที่มีก๊าซปิโตรเลียมหรือก๊าซธรรมชาติ โดยนำ O2 ที่ได้จากการกลั่นลำดับส่วนอากาศมาทำปฏิกิริยาดังสมการ โดยใช้ภาวะที่เหมาะสมและใช้ Niเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา จะได้ H2 และCO2 ซึ่งเรียกรวมกันว่า water gas
2CH4 (g) + O2 (g) → 2CO (g) + 4H2 (g)
หรืออาจใช้ไอน้ำทำปฏิกิริยากับก๊าซ CH4 โดยตรง จะได้ก๊าซ CO และH2 เช่นเดียวกัน
CH4 (g) + H2O (g) → CO (g) + 3H2 (g)
เมื่อแยกก๊าซ H2 ออกจากก๊าซผสมแล้ว จึงนำก๊าซ COที่เหลือไปทำปฏิกิริยากับก๊าซ CH4 อีกภายใต้อุณหภูมิสูง และมีตัวเร่งปฏิกิริยาเหมาะสม จะได้ก๊าซ CO2 และH2
ก๊าซผสมทั้งหมด (CO+H2) สามารถแยกออกจากกันได้โดยผ่านเข้าไปในหอคอยที่มีน้ำพ่นลงมา ก๊าซ CO2 ละลายน้ำได้ เกิดเป็นกรด H2CO3ไหลออกทางส่วนล่างของหอคอยพร้อมกับน้ำ
CO2 (g) + H2O (l) → H2CO3 (aq)
สำหรับก๊าซ H2 ซึ่งไม่ละลายน้ำจะผ่านขึ้นไปออกทางส่วนบนของหอคอย เก็บไว้ทำปฏิกิริยากับ N2 เพื่อเตรียมก๊าซ NH3 ต่อไป
สำหรับกรด H2CO3 นำไปแยกสลายให้กลับมาเป็นก๊าซ CO2ได้ โดยนำ H2CO3 ไปลดความดันและเพิ่มอุณหภูมิ
ก๊าซ N2 ที่เตรียมจากอากาศ และ H2 ที่ได้จากก๊าซธรรมชาตินำมาทำปฏิกิริยากันจะได้ NH3 เนื่องจากเป็นปฏิกิริยาที่มีภาวะสมดุลจึงต้องเลือกภาวะที่เหมาะสมเพื่อให้ได้ก๊าซ มากที่สุด โดยทั่วๆไปใช้อุณหภูมิประมาณ 300 องศาเซลเซียส 350 บรรยากาศ และใช้ เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา
เมื่อนำก๊าซ NH3ไปทำปฏิกิริยากับก๊าซ CO2 จะได้ปุ๋ยยูเรีย
CH3 (g) + CO2 (g) → NH2CONH2 (s) + H2O (l)
นอกจากนี้ ถ้าใช้ถ่านหินลิกไนต์เป็นวัตถุดิบแทนก๊าซธรรมชาติ จะเตรียม CO2 และ H2 ได้โดยการเผารวมกับ O2 จะได้ CO29.4%,CO 59.9%, H2 28.6% และก๊าซอื่นๆ 2.1%
เมื่อแยกก๊าซอื่นๆที่ไม่ต้องการ เช่น H2S และNO ออกไปแล้วจึงทำให้ CO กลายเป็นCO2 โดยนำก๊าซผสมไปทำปฏิกิริยากับไอน้ำที่ความดันสูงๆ และมีตัวเร่งปฏิกิริยาที่เหมาะสม CO จะรวมตัวกับ H2O ได้เป็น
CO2 และ H2
หลังจากได้ก๊าซผสม CO2 และ H2 แล้ว กระบวนการต่อๆไป สำหรับเตรียมปุ๋ยยูเรีย จะเหมือนกับกรณีที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นวัตถุดิบ
2.การผลิตปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต (NH4)2SO4
เตรียมก๊าซ NH3 และกรด H2SO4 ก่อนแล้วจึงนำมาทำปฏิกิริยากันเป็นปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต
ก๊าซ NH3 เตรียมได้โดยวิธีการเดียวกับการผลิตปุ๋ยยูเรีย
กรด H2SO4 เตรียมได้โดยใช้ S เป็นสารตั้งต้นซึ่งส่วนใหญ่จะได้จากถ่านลิกไนต์ โดยนำ S มาหลอมเหลวแล้วเผารวมกับก๊าซ O2 จะได้ก๊าซ SO2
S (l) + O2 (g) → SO2 (g)
เมื่อนำก๊าซ SO2ทำปฏิกิริยาต่อกับ O2 จะได้ก๊าซ SO3แต่เนื่องจากเป็นปฏิกิริยาที่มีสมดุลจึงต้องเลือกภาวะของอุณหภูมิและความดันที่เหมาะสม คือ 330 องศาเซลเซียส และใช้ V2O5 หรือ Pt เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาจะเหมาะสมได้ก๊าซ มากที่สุด
เมื่อผ่านก๊าซ SO3 ลงในสารละลายกรด H2SO4 เข้มข้น(เกือบบริสุทธิ์) จะเกิดปฏิกิริยาได้เป็น H2S2O7 หรือ H2SO4 . SO3 เรียกว่า โอเลียม(oleum) หรือ fuming sulfuric acid
H2SO4 (aq) + SO3 (g) → H2S2O7 (aq)
เมื่อต้องการกรด H2SO4 กลับคืน ให้นำ H2S2O7 ไปทำปฏิกิริยากับน้ำ
เมื่อนำก๊าซ NH3 และกรด H2SO4 มาทำปฏิกิริยากันจะได้ปุ๋ย (NH4)2SO4 ตามต้องการ
2NH3 (g) + H2SO4 (aq) → (NH4)2SO4(s)
หมายเหตุ
การเตรียมกรด H2SO4 จะไม่เตรียมจากปฏิกิริยาระหว่าง SO3 (g) กับ H2O (l) โดยตรง ตามสมการ
H2O (l) + SO3 (g) → H2SO4(aq)
เนื่องจาก เกิดปฏิกิริยายาก และมีการคายความร้อนสูงมาก รวมทั้งยังมีก๊าซบางอย่างระเหยออกมาตลอดเวลา ซึ่งอาจทำให้เกิดอันตรายได้ง่าย
หน้าแรก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น