วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ผู้จัดทำ

ปุณณธีต์ ธรรมานุสาร

รัตนพล สมแวง

วิกรานต์ นิพิธฐนศาสตร์

ธันวา ทับสีรักษ์

ศุภศักดิ์ นกออก

อุตสาหกรรมปุ๋ย

อุตสาหกรรมปุ๋ย



       ปุ๋ย คือ สารหรือสิ่งซึ่งเราใส่ลงไปในดิน เพื่อวัตถุประสงค์ให้ปลดปล่อยธาตุอาหารพืชโดยเฉพาะไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ที่พืชยังขาดอยู่ให้พืชได้รับอย่างเพียงพอ พืชสามารถเจริญเติบโตงอกงามดีและให้ผลิตผลสูงขึ้น

ประเภทของปุ๋ย



1.  ปุ๋ยอินทรีย์     คือสารประกอบที่ได้จากสิ่งที่มีชีวิต ได้แก่ พืช สัตว์ และจุลินทรีย์ ผ่านกระบวนการผลิตทางธรรมชาติ ปุ๋ยอินทรีย์ส่วนใหญ่ใช้ในการปรับปรุงสมบัติทางกายภาพของดิน ทำให้ดินโปร่ง ร่วนซุย ระบายน้ำและถ่ายเทอากาศได้ดี รากพืชจึงชอนไชไปหาธาตุอาหารได้ง่ายขึ้น
          ปุ๋ยอินทรีย์ มีปริมาณธาตุอาหารอยู่น้อยเมื่อเปรียบเทียบกับปุ๋ยเคมี และธาตุอาหารพืชส่วนใหญ่อยู่ในรูปของสารประกอบอินทรีย์ ปุ๋ยอินทรีย์มี 3 ประเภทคือ 1) ปุ๋ยหมัก 2) ปุ๋ยคอก และ 3) ปุ๋ยพืชสด


2.  ปุ๋ยเคมี  หรือปุ๋ยวิทยาศาสตร์     เป็นปุ๋ยที่ได้จากการผลิตหรือสังเคราะห์จากแร่ธาตุต่างๆ  หรือเป็นผลพลอยได้จากโรงงานอุตสาหกรรมบางชนิด  ซึ่งจะมีธาตุอาหารหลักที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช  ได้แก่  ธาตุไนโตรเจน  ฟอสฟอรัส  และโพแทสเซียม  สามารถปลดปล่อยให้แก่พืชได้ง่ายและเร็ว  มี  2  ประเภทคือ


2.1  ปุ๋ยเดี่ยวหรือแม่ปุ๋ย     เป็นสารประกอบที่มีธาตุอาหารของพืชอยู่หนึ่งหรือสองธาตุ  และมีปริมาณธาตุอาหารคงที่  เช่น  ปุ๋ยยูเรีย  และปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต



2.2  ปุ๋ยผสม         เป็นปุ๋ยที่ได้จากการนำปุ๋ยเดี่ยวแต่ละชนิดมาผสมกันเพื่อให้ได้สัดส่วนของธาตุอาหาร  N  P  และ  ตามต้องการ  เช่น  ปุ๋ยสูตร  10  :  15  :  20  ประกอบด้วย N  10  ส่วน  P  15  ส่วน  K  20  ส่วน  และมีตัวเติมอีก  55  ส่วน  ให้ครบ  100  ส่วน


นอกจากนี้  ปุ๋ยวิทยาศาสตร์บางชนิดอาจมีธาตุอาหารของพืชที่มีความสำคัญในลำดับรอง  ซึ่งพืชต้องการในปริมาณน้อย  ได้แก่  ธาตุแคลเซียม  กำมะถัน  แมกนีเซียม  เหล็ก  สังกะสี  แมงกานีส  และทองแดง  ผสมอยู่ด้วย


ปุ๋ยเคมีสามารถแยกประเภทได้ดังนี้

อ้างอิง

อ้างอิง

http://www.scimath.org/socialnetwork/groups/viewbulletin/1198-?groupid=250
http://wit61.blogspot.com/2011/09/blog-post_02.html
http://www.krunid.com/board/index.php?topic=4590.0;wap2
http://www.scimath.org/socialnetwork/groups/viewbulletin/1197-?groupid=250

http://www.scimath.org/socialnetwork/groups/viewbulletin/1211-%E0%B8%9B%E0%B8%B8%E0%B9%8B%E0%B8%A2%E0%B8%9C%E0%B8%AA%E0%B8%A1?groupid=250

หน้าแรก

ปุ๋ยผสม



ปุ๋ยผสม
ปุ๋ยผสมได้จากการนำปุ๋ยไนโตรเจน ฟอสเฟตและโพแทสมาผสมรวมกันเพื่อให้ได้สัดส่วนของธาตุอาหารพืชตาม ที่ต้องการ มี 2 ลักษณะ ดังนี้
การผลิตในลักษณะเชิงผสม
เป็นวิธีที่ใช้อยู่ในโรงงานส่วนใหญ่ในประเทศ โดยการนำแม่ปุ๋ยและส่วนผสมต่างๆ มาบดให้เข้ากันเป็นเม็ด หรืออีกแบบคือการนำแม่ปุ๋ยและส่วนผสมต่างๆ มาคลุกเคล้าให้เข้ากันหรือนำแม่ปุ๋ยที่มีขนาดเล็กใกล้เคียง กันมาผสมกัน เพื่อให้ได้สูตรตามต้องการ และอาจมีการบดให้ละเอียดจนเข้ากันดี ทำให้ปุ๋ยแต่ละเม็ดอาจมี ธาตุอาหารแตกต่างกัน
การผลิตในลักษณะเชิงประกอบ

เป็นการนำวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตแม่ปู่ยมาผสมกันและให้ทำปฏิกิริยากัน เกิดเป็นสารประกอบต่างๆ เพื่อให้ได้ปุ๋ยตามสูตรที่ต้องการ

หน้าแรก

ปุ๋ยโพแทส



ปุ๋ยโพแทส
เป็นสารประกอบของโพแทสเซียม ปุ๋ยโพแทสมีหลายชนิด เช่น   KCl   K2SO4 KNO3 และ  K2SO4.2MgSO4 การผลิตปุ๋ย แต่ละชนิดเหล่านี้จะมีกระบวนการที่แตกต่างกันโพแทสเซียมเป็นธาตุอาหารหลักที่จำเป็นต่อพืชมาก ทำให้ผนังเซลล์ของพืชหนาขึ้น สร้างภูมิต้านทานโรค และเป็นตัวเร่งให้เซลล์ทำงานได้ดีขึ้น ถ้าพืชขาดโพแทสเซียมจะทำให้มีปริมาณแป้งต่ำกว่าปกติ ผลผลิตลดน้อยลง  ขอบใบมีสีซีด ลำต้นอ่อน แคระแกร็นและเมล็ดลีบ

1.การผลิตปุ๋ย KCl โดยใช้แร่ซิลวาไนต์  (KCl.NaCl) มาบดให้ละเอียดแล้วละลายในน้ำที่มีอุณหภูมิประมาณ 90 C  เติมสารละลาย  NaCl ที่อิ่มตัวลงไป  ระเหยน้ำออก  จนกระทั่ง  KCl ตกผลึกออกมาหรืออาจจะผลิตจากน้ำทะเล  โดยนำน้ำทะเลมาระเหยจน  NaCl ตกผลึก  แยก NaCl ออก  จากนั้นระเหยน้ำต่อจน  KCl  ตกผลึก

2.การผลิต K2SO4 ผลิตได้จาการนำแร่ลงไปไนต์  (K2SO4.2MgSO4)  มาบดให้ละเอียดแล้วละลายในน้ำที่มีอุณหภูมิประมาณ 50 C  จนเป็นสารละลายอิ่มตัว  แล้วเติมสารละลาย KCl ที่เข้มข้นลงไป  จะได้ผลึก  K2SO4 ออกมาดังสมการ
K2SO4.2MgSO4 +  4KCl          3K2SO4 +  2MgCl2

3.การผลิต  KNO3 ผลิตได้โดยใช้  KCl ทำปฏิกิริยากับ  NaNO3 ดังสมการ

KCl  +  NaNO3        KNO3 +  NaCl

ปุ๋ยฟอสเฟต




ปุ๋ยฟอสเฟต
ปุ๋ยฟอสเฟต เป็นปุ๋ยเคมีที่ให้ธาตุฟอสฟอรัสในรูปสารประกอบฟอสเฟต pH  ของดินมีผลต่ออนุมูลของฟอสเฟตการผลิตปุ๋ยฟอสเฟต ปัจจุบันนี้ใช้วัตถุดิบคือ หินฟอสเฟต (phosphate rock)  



การเตรียมปุ๋ยซุปเปอร์ฟอสเฟต
นำหินฟอสเฟตที่บดแล้วมาทำปฏิกิริยากับกรด H2SO4 เข้มข้น 4-5 โมลต่อลูกบาศก์เดซิเมตร(ที่มากเกินพอ) ปฏิกิริยาจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วได้กรด H3PO4 กรดกัดแก้ว (HF กรดไฮโดรฟูออริก)  และแคลเซียมซัลเฟต ดังสมการ
CaF2.3Ca3(PO4)2 + 10H2SO4" 6H3PO4 + 10CaSO4 + 2HF
กรด H3PO4 ที่เกิดขึ้นจะทำปฏิกิริยากับหินฟอสเฟตที่เหลือ ปฏิกิริยาเกิดขึ้นอย่างช้าๆ ต้องเก็บหรือบ่มไว้ประมาณ 1 เดือน จนปฏิกิริยาเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ได้มอนอแคลเซียมฟอสเฟต หรือในท้องตลาดเรียกว่า triple soperphosphate
CaF2.3Ca3(PO4)2 + 14H3PO4 " 10Ca(H2PO4)2 + 2HF
ปุ๋ยมอนอแคลเซียมฟอสเฟตละลายน้ำได้ดี พืชจึงนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้อาจนำหินฟอสเฟตมาทำปฏิกิริยากับ    จะได้ปุ๋ยซุปเปอร์ฟอสเฟต ดังสมการ
CaF2.3Ca3(PO4)2 + 7H2SO4 + 17H2O  " 3Ca(H2PO4)2. H2O + 7CaSO4.2 H2O + 2HF
การเตรียมปุ๋ยฟอสเฟตในอุตสาหกรรมจะมีแก๊ส HF  เกิดขึ้นซึ่งระเหยกลายเป็นไอได้ง่ายและเป็นพิษ จึงต้องมีการกำจัด HF ดังปฏิกิริยา
SiO2 +  4HF  " SiF4 + 2 H2O
SiF4 ที่เกิดขึ้นจะรวมตัวกับน้ำส่วนที่ได้  H2SiF6 อาจนำแก๊ส HF ทำปฏิกิริยากับ SiO2 โดยตรงจะได้เหมือนกัน ดังสมการ
6HF + SiO2 " H2SiF6 + 2 H2O
H2SiF6 ใช้เป็นสารละลายในการเติมฟลูออไรด์ให้กับน้ำดื่ม หรือนำมาทำปฏิกิริยากับ MgO ได้แมกนีเซียมซิลิโกฟลูออไรด์  ซึ่งใช้เป็นสารกำจัดแมลง ดังสมการ
H2SiF6 + MgO " MgSiF6 + H2O
อาจกำจัดแก๊ส HF โดยการผ่านลงในน้ำได้สารละลายกรด HF แล้วนำมาสะเทินด้วยโซดาแอช(Na2CO3)  หรือหินปูน ดังสมการ
2HF + Na2CO3 " 2NaF + H2O + CO2
2HF + CaCO3 " CaF2 + H2O + CO2
การผลิตปุ๋ยฟอสเฟตนั้นอาจนำหินฟอสเฟตผสมกับทรายและโซดาแอช แล้วเผาที่อุณหภูมิ 1000-1200 อาศาเซลเซียส ประมาณ 2 ชั่วโมง จะเกิดปฏิกิริยา ดังสมการ
2CaF2.3Ca3(PO4)2 + 5SiO2 + 6Na2CO3 " 12CaNaPO4 + 4Ca2SiO4 + SiF4 + 6CO2

นำสารผสมที่ได้จากการเผาเทลงในน้ำแล้วทำให้เย็นลงทันทีจะได้สารที่มีลักษณะพรุน เปราะ และบดให้ละเอียดได้ง่าย สามารถใช้เป็นปุ๋ยฟอสเฟตที่ให้ P2O5 ได้ถึงร้อยละ 27.5 โดยมวล จึงเป็นวิธีหนึ่งที่นำหินฟอสเฟตมาใช้อย่างคุ้มค่า

หน้าแรก

ปุ๋ยไนโตรเจน



ปุ๋ยไนโตรเจน
ปุ๋ยไนโตรเจนที่ใช้อาจจัดเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ปุ๋ยไนโตรเจนประเภทอินทรีย์ และปุ๋ยไนโตรเจนประเภทอนินทรีย์หรือปุ๋ยเคมี
ปุ๋ยไนโตรเจนประเภทอนินทรีย์หรือปุ๋ยเคมี ส่วนใหญ่ได้จากการสังเคราะห์ทางเคมี ปัจจุบันนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร แบ่งเป็นหลายประเภท เช่นปุ๋ยแอมโมเนีย (NH3)ปุ๋ยโซเดียมไนเตรต (NaNO3)ปุ๋ยแคลเซียมไซยาไนด์ (CaCN2)ปุ๋ยแอมโมเนียมไนเตรตซัลเฟต (NH4 NO3 .(NH4)2SO4)เป็นต้น
กรรมวิธีการผลิตปุ๋ยไนโตรเจน  โรงงานอุตสาหกรรมผลิตปุ๋ยสามารถใช้ไนโตรเจนจากอากาศมาผลิตเป็นปุ๋ยไนโตรเจน  ในที่นี้จะเน้นการผลิตปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต ((NH4)2SO4) และปุ๋ยยูเรีย (NH2CONH2)



1.การผลิตปุ๋ยยูเรีย (NH2CONH2)
เตรียมได้จากปฏิกิริยาระหว่างแก๊ส NH3 กับแก๊สCO2 โดยใช้อุณหภูมิประมาณ  180-210 องศาเซลเซียส และความดัน 140-250 บรรยากาศ จะได้แอมโมเนียมคาร์บาเมต (NH2CONH4กับน้ำ ดังสมการ
2NH3 (g) + CO2 (g)  NH2CONH4 (aq)
NH2CONH4 (aq)   NH2CONH2 (aq) + H2O (l)
NH3 กับCO2 เตรียมได้จากก๊าซธรรมชาติ
NH3 เตรียมจาก Nและ Hในอากาศ โดยนำอากาศมากลั่นลำดับส่วน  คือ ลดอุณหภูมิลงมากๆ พร้อมกับเพิ่มความดันจนอากาศกลายเป็นของเหลว
เริ่มต้นเตรียม Nจากอากาศโดยกระบวนการ liquefaction คือ ทำให้อากาศกลายเป็นของเหลวทั้งหมดก่อนโดยการลดอุณหภูมิลงมากๆ และเพิ่มความดันสูงๆ จากนั้นนำอากาศเหลวซึ่งมี Nและ Oเป็นส่วนใหญ่มากลั่นลำดับส่วนแยกออกจากกัน Nซึ่งมีจุดเดือดต่ำกว่า Oจะแยกออกมาก่อนแล้ว O2 จึงกลั่นออกมา ภายหลัง
การเตรียม Hในกรณีที่มีก๊าซปิโตรเลียมหรือก๊าซธรรมชาติ โดยนำ O2 ที่ได้จากการกลั่นลำดับส่วนอากาศมาทำปฏิกิริยาดังสมการ  โดยใช้ภาวะที่เหมาะสมและใช้ Niเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา จะได้ H2 และCOซึ่งเรียกรวมกันว่า water gas
2CH4 (g) + O2 (g)         2CO (g) + 4H2 (g)
หรืออาจใช้ไอน้ำทำปฏิกิริยากับก๊าซ CH4 โดยตรง จะได้ก๊าซ CO และH2 เช่นเดียวกัน
CH4 (g) + H2O (g)       CO (g) + 3H2 (g)
เมื่อแยกก๊าซ Hออกจากก๊าซผสมแล้ว จึงนำก๊าซ COที่เหลือไปทำปฏิกิริยากับก๊าซ CH4 อีกภายใต้อุณหภูมิสูง และมีตัวเร่งปฏิกิริยาเหมาะสม จะได้ก๊าซ CO2 และH2


ก๊าซผสมทั้งหมด (CO+H2สามารถแยกออกจากกันได้โดยผ่านเข้าไปในหอคอยที่มีน้ำพ่นลงมา ก๊าซ CO2 ละลายน้ำได้ เกิดเป็นกรด H2CO3ไหลออกทางส่วนล่างของหอคอยพร้อมกับน้ำ
CO2 (g) + H2O (l)  H2CO3 (aq)
สำหรับก๊าซ H2 ซึ่งไม่ละลายน้ำจะผ่านขึ้นไปออกทางส่วนบนของหอคอย เก็บไว้ทำปฏิกิริยากับ Nเพื่อเตรียมก๊าซ NH3 ต่อไป
สำหรับกรด H2CO3 นำไปแยกสลายให้กลับมาเป็นก๊าซ CO2ได้ โดยนำ H2CO3 ไปลดความดันและเพิ่มอุณหภูมิ


ก๊าซ Nที่เตรียมจากอากาศ และ Hที่ได้จากก๊าซธรรมชาตินำมาทำปฏิกิริยากันจะได้ NHเนื่องจากเป็นปฏิกิริยาที่มีภาวะสมดุลจึงต้องเลือกภาวะที่เหมาะสมเพื่อให้ได้ก๊าซ มากที่สุด โดยทั่วๆไปใช้อุณหภูมิประมาณ 300 องศาเซลเซียส 350 บรรยากาศ และใช้ เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา
เมื่อนำก๊าซ NH3ไปทำปฏิกิริยากับก๊าซ CO2 จะได้ปุ๋ยยูเรีย
CH3 (g) + CO2 (g)   NH2CONH2 (s) + H2O (l)
นอกจากนี้ ถ้าใช้ถ่านหินลิกไนต์เป็นวัตถุดิบแทนก๊าซธรรมชาติ จะเตรียม CO2 และ H2 ได้โดยการเผารวมกับ O2 จะได้ CO29.4%,CO 59.9%, H2 28.6% และก๊าซอื่นๆ 2.1%
เมื่อแยกก๊าซอื่นๆที่ไม่ต้องการ เช่น H2และNO ออกไปแล้วจึงทำให้ CO กลายเป็นCO2 โดยนำก๊าซผสมไปทำปฏิกิริยากับไอน้ำที่ความดันสูงๆ และมีตัวเร่งปฏิกิริยาที่เหมาะสม CO จะรวมตัวกับ H2ได้เป็น
CO2 และ H2
หลังจากได้ก๊าซผสม CO2 และ H2 แล้ว กระบวนการต่อๆไป สำหรับเตรียมปุ๋ยยูเรีย จะเหมือนกับกรณีที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นวัตถุดิบ




2.การผลิตปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต (NH4)2SO4
เตรียมก๊าซ NHและกรด H2SOก่อนแล้วจึงนำมาทำปฏิกิริยากันเป็นปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต
ก๊าซ NH3 เตรียมได้โดยวิธีการเดียวกับการผลิตปุ๋ยยูเรีย
กรด H2SO4 เตรียมได้โดยใช้ S เป็นสารตั้งต้นซึ่งส่วนใหญ่จะได้จากถ่านลิกไนต์ โดยนำ S มาหลอมเหลวแล้วเผารวมกับก๊าซ O2 จะได้ก๊าซ SO2
S (l) + O2 (g)   SO2 (g)
เมื่อนำก๊าซ SO2ทำปฏิกิริยาต่อกับ O2 จะได้ก๊าซ SO3แต่เนื่องจากเป็นปฏิกิริยาที่มีสมดุลจึงต้องเลือกภาวะของอุณหภูมิและความดันที่เหมาะสม คือ 330 องศาเซลเซียส  และใช้ V2Oหรือ Pt เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาจะเหมาะสมได้ก๊าซ มากที่สุด
เมื่อผ่านก๊าซ SOลงในสารละลายกรด H2SO4 เข้มข้น(เกือบบริสุทธิ์) จะเกิดปฏิกิริยาได้เป็น H2S2O7 หรือ H2SOSOเรียกว่า โอเลียม(oleum) หรือ fuming sulfuric acid
H2SO4 (aq) + SO3 (g)   H2S2O7 (aq)
เมื่อต้องการกรด H2SO4 กลับคืน ให้นำ H2S2O7 ไปทำปฏิกิริยากับน้ำ
เมื่อนำก๊าซ NH3 และกรด H2SO4 มาทำปฏิกิริยากันจะได้ปุ๋ย (NH4)2SO4 ตามต้องการ
2NH3 (g) + H2SO4 (aq)   (NH4)2SO4(s)
หมายเหตุ
การเตรียมกรด H2SO4 จะไม่เตรียมจากปฏิกิริยาระหว่าง SO3 (g) กับ H2O (l) โดยตรง  ตามสมการ
H2O (l) + SO3 (g)   H2SO4(aq)

เนื่องจาก เกิดปฏิกิริยายาก และมีการคายความร้อนสูงมาก รวมทั้งยังมีก๊าซบางอย่างระเหยออกมาตลอดเวลา ซึ่งอาจทำให้เกิดอันตรายได้ง่าย

หน้าแรก